เฟื่องฟ้า (Bougainvillea) จัดเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่นิยมปลูกทั่วไปตามบ้านเรือนหรือสถานที่ราชการต่างๆ เนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ดอกสวยงาม ดอกมีหลายสี ออกดอกได้นาน ลำต้นเล็ก และสามารถดัดหรือตัดแต่งได้ตามต้องการ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bougainvillea hybrid
ชื่อสามัญ:
– Bougainvillea
– Paper Flower
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ราก และลำต้น
เฟื่องฟ้ามีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย มีลำต้นกลม ยาว เนื้อไม้แข็ง และเหนียว เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน เปลือกมีลักษณะบาง สีน้ำตาลแกมเทา ต้นที่มีอายุมากจะมีเปลือกสีดำ แตกกิ่งก้านมาก กิ่งมีขนาดเล็ก เรียวยาว และโน้มลงพื้น กิ่งมีสีเขียวเมื่ออ่อน และกิ่งแก่มีสีน้ำตาลอ่อน ทั่วกิ่งมีหนามแหลมคมขนาดใหญ่ เกิดบริเวณเหนือก้านใบ สีลักษณะสีคล้ายสีกิ่ง
ส่วนของราก เป็นระบบรากแก้ว แตกออกเป็นรากแขนง และรากฝอย รากมีลักษณะเล็ก เรียวยาวได้หลายเมตร ขนานกับพื้นดิน
2. ใบ
ใบเฟื่องฟ้าจัดเป็นใบเดี่ยว แตกออกบริเวณข้อกิ่ง สลับ และเยื้องกันตามความยาวของกิ่งจนจรดปลายกิ่ง ใบมีสีเขียวเข้มหรือสีด่าง มีลักษณะรูปไข่ โคนใบมนใหญ่ และค่อนเรียวที่ปลายใบ กว้างประมาณ 2-5 ซม. ยาวประมาณ 3-8 ซม. มีก้านใบยาวประมาณ 3-5 ซม. มีขนสั้นๆปกคลุมใบ ก้านใบมีเส้นใยเป็นร่างแห
3. ดอกเฟื่องฟ้า
ดอกเฟื่องฟ้าที่เรามองเห็น และเรียกว่า ดอก จะประกอบด้วยใบประดับหรือใบดอก และช่อดอก
โดยใบดอกหรือใบประดับจะแตกออกที่ซอกกิ่งบริเวณปลายกิ่ง มีลักษณะเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ 3 ใบ มีลักษณะเป็นแผ่นบางล้อมรอบช่อดอก ฐานใบจรดกันติดกับก้านช่อดอก มีหลายสีตามลักษณะของพันธุ์ เช่น สีแดง สีชมพู สีขาว สีเหลือง สีส้ม เป็นต้น
ดอกเฟื่องฟ้าออกเป็นช่อ แตกออกด้วยกันกับใบดอก และอยู่ถัดจากใบดอกที่มีสีต่างๆ แต่ละช่อมีดอกประมาณ 3 ดอก มีก้านช่อดอกอยู่ตรงกลางบริเวณฐานใบดอก ไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลียงเชื่อติดกันเป็นรูปกรวยหลอด กกคลุมด้วยขนสั้นๆจำนวนมาก ภายในกรวยหลอดมีเกสรตัวผู้ 5-10 อัน และเกสรตัวเมียลักษณะยาวเรียว 1 อัน ภายในประกอบด้วยรังไข่
4. ผล
ผลของดอกเฟื่องฟ้ามักไม่ปรากฏให้เห็นหากไม่นำมาแกะดู เนื่องจากผลจะอยู่ด้านในดอก มีขนาดเล็กมาก สีดำ และที่สำคัญ เฟื่องฟ้าไม่ค่อยติดผลให้เห็นมากนัก นอกจากจะมีการผสมเกสร
สายพันธุ์เฟื่องฟ้าที่นิยมปลูกทำบอนไซ สายพันธุ์สาวิตรี
เฟื่องฟ้า สายพันธุ์สาวิตรี นำเข้าประมาณปี พ.ศ. 2522 จากประเทศฟิลิปปินส์ โดย ดร. สุรพงษ์ โกสิยจินดา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีลักษณะข้อสั้น ใบดอกเกิดชิดกันแน่น และมีขนาดเล็ก มีสีม่วง กลายพันธุ์เป็นพันธุ์ใหม่ ได้แก่ สาวิตรีใบสีเงิน สาวิตรีด่างขอบเหลือง สาวิตรีด่างขอบขาว สาวิตรีศรีสยาม เป็นต้น
เฟื่องฟ้า (Bougainvillea) เป็นพืชที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมในการทำบอนไซ (bonsai) ได้ โดยเฉพาะเวลาที่ต้นเฟื่องฟ้าอายุมากพอและมีความแข็งแรง เฟื่องฟ้ามีลักษณะใบและดอกที่สวยงามทำให้เหมาะสำหรับการดูแลในลักษณะบอนไซ นี่คือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เฟื่องฟ้าในการทำบอนไซ:
- ลักษณะทั่วไป: เฟื่องฟ้ามีใบที่สีเขียวเข้มและดอกที่สวยงามที่มีสีสดใส เมื่อต้นเฟื่องฟ้าเติบโตมากพอและถูกตัดแต่งอย่างเหมาะสม จะสามารถสร้างรูปร่างบอนไซที่น่าสวยงามได้
- การตัดแต่ง: การตัดแต่งเฟื่องฟ้าในกระบวนการทำบอนไซเป็นกระบวนการที่สำคัญ เราจะต้องตัดแต่งกิ่งและใบให้สวยงามและมีความสมดุล
- การรดน้ำ: เฟื่องฟ้ามีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี ควรรดน้ำเมื่อดินแห้งแต่ไม่ควรให้น้ำท่วมขังหรือดินแฉะเกินไป
- การให้ปุ๋ย: ให้ปุ๋ยให้กับเฟื่องฟ้าเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและออกดอก ควรใช้ปุ๋ยที่มีส่วนสำคัญเป็นไนโตรเจนในช่วงการเจริญเติบโตและสลับไปกับปุ๋ยที่มีส่วนสำคัญเป็นฟอสฟอรัสในช่วงการออกดอก
- การปลูก: เฟื่องฟ้าสามารถปลูกเลี้ยงในกระถางหรือภาชนะก้นตื้นได้ ควรใช้ดินปลูกที่มีการระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์
- การดูแลในฤดูหนาว: เฟื่องฟ้าทนต่อความเย็นได้น้อย ดังนั้นควรระวังไม่ให้ต้นไม้ได้รับความเย็นมากเกินไปในฤดูหนาว การเก็บต้นเฟื่องฟ้าในพื้นที่อบอุ่น อาจช่วยป้องกันการทำลายจากอากาศเย็น แต่ปัญหานี้ไม่ค่อยมีผลกับชวนชมที่ปลูกเลี้ยงในประเทศไทยที่ไม่เคยหนาวจัด
การทำบอนไซเฟื่องฟ้าเป็นโอกาสที่ดีในการแสดงความสวยงามของพืชที่มีสีสันและดอกสวยงาม ควรให้ความระมัดระวังและความรอบคอบในการดูแลต้นไม้เพื่อให้บอนไซของคุณสวยงามและสมบูรณ์ในระยะยาว โดยเฉพาะดินปลูกที่จะต้องมั่นเปลี่ยนดินปลูกอย่างสม่ำเสมอ
เฟื่องฟ้า (Bougainvillea) จึงเป็นพันธุ์ไม้ที่สามารถนำมาทำบอนไซได้สวยงามอีกชนิดหนึ่งครับ