ต้นไทรย้อยใบแหลม

ไทรย้อย Ficus benjamina: ไทรย้อย ชื่อสามัญ Golden Fig, Weeping Fig, Weeping or Java Fig, Weeping Chinese Bonyan, Benjamin Tree, Benjamin’s fig, Ficus tree

ไทรย้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benjamina L. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE) สมุนไพรไทรย้อย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ไทรพัน (ลำปาง), ไทร (นครศรีธรรมราช), ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์), ไฮ (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพฯ), จาเรย (เขมร), ไซรย้อย เป็นต้น

ลักษณะของไทรย้อย   

   ต้นไทรย้อย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย อินเดีย และภูมิภาคมาเลเซีย จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม้ผลัดใบขนาดกลาง ที่มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบและแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อยลง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง มีลำต้นที่สูงใหญ่ ตามลำต้นจะมีรากอากาศแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมากดูสวยงาม รากอากาศเป็นรากขนาดเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล ลักษณะรากกลมยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศที่มีขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ด้วย มีรสจืดและฝาด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า ชอบดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นในระดับปานกลาง ไทรย้อยมีเขตการกระจายพันธุ์กว้างในประเทศเขตร้อน พบได้ที่อินเดีย เนปาล ปากีสถาน จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นกระจายในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา และบางครั้งอาจพบได้ตามเขาหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,300 เมตร


ใบไทรย้อย

ใบไทรย้อยใบแหลม

ไทรย้อยแต่ละสายพันธุ์นั้นจะมีลักษณะของใบที่แตกต่างกันเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่ บางต้นลักษณะของใบเป็นรูปกลมป้อม ส่วนบางพรรณก็เป็นรูปยาวรี แต่โดยทั่วไปแล้วใบจะมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-11 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นสีเขียวเรียบเป็นมันเหมือนกันหมด เส้นแขนงใบมีข้างละประมาณ 6-16 เส้น ส่วนเส้นแขนงใบย่อยเรียงขนานกัน มีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ ก้านยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร มีหูใบยาวประมาณ 0.5-2.8 เซนติเมตร ร่วงได้ง่าย เกลี้ยงหรือมีขนขึ้นประปราย


ดอกไทรย้อย

ดอกไทรย้อย

ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปทรงกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่จากจ้างกิ่ง ไม่มีกลีบดอก ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ช่อดอกของไทรก็คือผลที่ยังไม่สุกนั่นเอง แต่เป็นช่อดอกที่ได้รับการออกแบบมาให้ม้วนดอกทั้งหลายกลับนอกเข้าในเพื่อทำหน้าที่พิเศษ ถ้านำมาผ่าดูก็จะพบว่าข้างในกลวง ที่ผนังมีดอกขนาดเล็ก ๆ จำนวนนับร้อย ๆ ดอก ด้านตรงข้ามกับขั้วผลไทรมีรูเปิดขนาดเล็กมาก และมีเกล็ดเล็ก ๆ ปิดซ้อนกันอยู่ โดยดอกไทรจะมีอยู่ด้วย 3 ประเภท คือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกกอลล์ ซึ่งดอกกอลล์ (Gall flower) จะมีหน้าที่เป็นที่วางไข่และเลี้ยงตัวอ่อนของ “ตัวต่อไทร” (เป็นแมลงชนิดเดียวเท่านั้นที่ช่วยผสมเกสรให้ต้นไทร)

ไทรย้อยใบแหลม
ไทรย้อยใบแหลม

ผลไทรย้อย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรี ออกผลเป็นคู่ ๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม สีน้ำตาล สีชมพู สีส้มแดง หรือสีม่วงดำเมื่อแก่ ไร้ก้าน

บอนไซ ไทรย้อยใบแหลม ไทรย้อย Ficus benjamina

อ้างอิง https://medthai.com/ไทรย้อย/

ไทรย้อย (Ficus benjamina) เป็นต้นไม้ที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมในการทำบอนไซ (bonsai) ได้ ต้นไทรย้อยมีลักษณะใบที่สวยงามและใบบางเป็นเอกลักษณ์ทำให้เหมาะสำหรับการปลูกเป็นบอนไซ นี่คือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ไทรย้อย (Ficus benjamina) ในการทำบอนไซ:

  1. ลักษณะทั่วไป: ไทรย้อย (Ficus benjamina) มีใบเลี้ยงต้นที่เรียงต่อกัน และใบมีลักษณะเล็ก ๆ และจุดสีเขียวอ่อนที่สวยงาม มีสีเขียวอ่อนสวยงาม และสามารถย่อใบให้มีขนาดเล็กลงได้ ในกระบวนการการเจริญเติบโตแบบบอนไซ
  2. การตัดแต่ง: การตัดแต่งเป็นกระบวนการสำคัญในการทำบอนไซไทรย้อย คุณจะต้องตัดแต่งกิ่งและใบให้สวยงามและความสมดุล การเลือกกิ่งที่จะตัดแต่งเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างรูปร่างที่น่าสนใจ
  3. การรดน้ำ: ไทรย้อยต้องการการรดน้ำอย่างเหมาะสม ควรรดน้ำเมื่อดินแห้งแต่ไม่ควรให้น้ำท่วมขัง การรดน้ำเป็นไปตามสภาพแวดล้อมและฤดูกาล
  4. การให้ปุ๋ย: ให้ปุ๋ยในช่วงการเจริญเติบโตเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและการแตกใบใหม่ ควรใช้ปุ๋ยที่มีส่วนสำคัญเป็นไนโตรเจนในช่วงการเจริญเติบโตและสลับไปกับปุ๋ยที่มีส่วนสำคัญเป็นฟอสฟอรัสในช่วงการออกดอก
  5. การปลูก: ไทรย้อยสามารถปลูกในกระถางหรือกระถางก้นตื้นได้ ควรใช้ดินปลูกที่มีการระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์
  6. การดูแลในฤดูหนาว: ไทรย้อยมีความทนทานต่อความหนาวได้น้อย ดังนั้นควรระวังไม่ให้ต้นไม้ได้รับความเย็นเย็นมากเกินไปในฤดูหนาว

การทำบอนไซไทรย้อย (Ficus benjamina) เป็นโอกาสที่ดีในการแสดงความสวยงามของพืชที่มีลักษณะใบที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะไทรย้อยมีระบบรากแบบรากอากาศที่ย้อยลงดินได้ เพิ่มความสวยงามให้กับลำต้นที่แตกต่างจากต้นชนิดอื่น ๆ ควรให้ความระมัดระวังและความรอบคอบในการดูแลต้นไม้เพื่อให้บอนไซไทรย้อยของคุณสวยงามและสมบูรณ์ในระยะยาว

ไทรย้อย (Ficus benjamina) จึงเป็นพันธุ์ไม้ที่สามารถนำมาทำบอนไซได้สวยงามอีกชนิดหนึ่งครับ